Difference between revisions of "การแข่งขันการค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณในสถานการณ์ฉุกเฉินจำลอง"

From WiFinder | โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านวิศวกรรมคมนาคมในโรงเรียนทั่วประเทศ
Jump to navigation Jump to search
(Created page with "การแข่งขันการค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณในสถานการณ์ฉุกเฉินจำลอง อาศัยแนวคิดของการค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณในสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น กรณีอากาศยานตก อุปกรณ์ฉุกเฉินจะส่งสัญญา...")
 
(Replaced content with " * หนังสือเชิญ และ กำหนดการ * [https://docs.google.com/spreadsheets/d/e/2PACX-1vTqoLmn7DpPY5jXk4MfrGeH0eAySCy4g5AqnuRlcEBSKJYQB4gIlGCo7rUfaa3NhlTvkulCGLNDN9IN/pubhtml?gid=593288931&single=true รายชื่อสถานศึกษา นักเรียน และ ครูที่ปรึกษาเข้...")
Tag: Replaced
Line 1: Line 1:
การแข่งขันการค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณในสถานการณ์ฉุกเฉินจำลอง อาศัยแนวคิดของการค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณในสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น กรณีอากาศยานตก อุปกรณ์ฉุกเฉินจะส่งสัญญาณแบบต่อเนื่องขอความช่วยเหลือเพื่อระบุพิกัดตำแหน่ง ที่ความถี่ 121.5 เมกะเฮิร์ตซ์ โดยจำเป็นต้องอาศัยการค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณเพื่อระบุจุดตก ด้วยอุปกรณ์ค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณ


โดยจัดการแข่งขันค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณวิทยุคมนาคมด้วยเครื่องมือค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณ  เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านวิศวกรรมโทรคมนาคมในโรงเรียน ด้วยเครื่องมือค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณ  และ ขยายโอกาสให้ครู และนักเรียนมีอุปกรณ์ในการเรียนการสอนทางด้านเทคโนโลยีวิศวกรรมโทรคมนาคม รวมถึงสร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนมีความสนใจเทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมโทรคมนาคม ระยะเวลา 2 วัน 1 คืน ประกอบด้วยรายละเอียดดังต่อไปนี้
* [[:File:หนังสือเชิญ_เข้าร่วมการแข่งขัน.pdf|หนังสือเชิญ และ กำหนดการ]]
*การแข่งขันการค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณในสถานการณ์ฉุกเฉินจำลอง ประกอบด้วยการแข่งขันในระดับภูมิภาคเพื่อคัดเลือกตัวแทนภูมิภาค จำนวน 6 ภูมิภาค ได้แก่ ภูมิภาคภาคเหนือ ภูมิภาคภาคกลาง ภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภูมิภาคภาคตะวันออก และเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก และ ภูมิภาคภาคใต้
* [https://docs.google.com/spreadsheets/d/e/2PACX-1vTqoLmn7DpPY5jXk4MfrGeH0eAySCy4g5AqnuRlcEBSKJYQB4gIlGCo7rUfaa3NhlTvkulCGLNDN9IN/pubhtml?gid=593288931&single=true รายชื่อสถานศึกษา นักเรียน และ ครูที่ปรึกษาเข้าร่วมการแข่งขัน]
*การจัดการแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มสถาบันการศึกษาระดับมัธยมศึกษา และ 2) กลุ่มสถาบันการศึกษาระดับอาชีวศึกษา โดยในแต่ละกลุ่มจะต้องประกอบด้วยสมาชิกในกลุ่มซึ่งเป็นนักเรียนในสถาบันการศึกษาเดียวกัน ไม่เกิน 2 คน และ ครูที่ปรึกษา 1 คน
*การแข่งขันการค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณ โดยการจำลองว่าเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน ตัวอย่างเช่น อากาศยานตกและระบบติดตามอากาศยานฉุกเฉินกำลังส่งสัญญาณฉุกเฉินเพื่อขอความช่วยเหลือ เป็นต้น โดยจะต้องแข่งขันการค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณด้วยอุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นเองโดยสถานศึกษา โดยมีแหล่งกำเนิดสัญญาณที่ต้องทำการค้นหาไม่น้อยกว่า 10 จุด แต่ละจุดห่างกันไม่น้อยกว่า 50 เมตร และแหล่งกำเนิดสัญญาณต้องสร้างด้วยบอร์ดสมองกลฝังตัว KidBright ที่ความถี่ 2.4 กิกะเฮิร์ตซ์
*ทีมที่ทำการแข่งขันและค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณครบ ในระยะเวลาที่น้อยที่สุด จะได้รับรางวัลชนะเลิศ เรียงตามลำดับเวลา

Revision as of 00:05, 21 March 2023