การติดตามผลการนำเครื่องมือค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน

From WiFinder | โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านวิศวกรรมคมนาคมในโรงเรียนทั่วประเทศ
Revision as of 09:59, 30 March 2022 by Awatchar (talk | contribs) (Created page with "เพื่อความยั่งยืนและต่อเนื่องในการดำเนินโครงการ หลังจากสิ้นสุดการได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนฯ โครงการได้ดำเนินการออกแบบกระบวนการ กรอบแนวคิด และวิธีการการติดตา...")
(diff) ← Older revision | Latest revision (diff) | Newer revision → (diff)
Jump to navigation Jump to search

เพื่อความยั่งยืนและต่อเนื่องในการดำเนินโครงการ หลังจากสิ้นสุดการได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนฯ โครงการได้ดำเนินการออกแบบกระบวนการ กรอบแนวคิด และวิธีการการติดตามผลการนำเครื่องมือค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณ ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน จากสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ ดังต่อไปนี้

  • ในระยะเริ่มแรก โครงการจะดำเนินการออกแบบซอฟต์แวร์สำหรับอุปกรณ์ (Firmware) เพื่อใช้นำร่องในโครงการ
  • เมื่อการดำเนินการพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับอุปกรณ์เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีเสถียรภาพแล้ว โครงการฯ จะดำเนินการเผยแพร่ซอฟต์แวร์แบบเปิดเผยรหัส (Opensource) เพื่อให้สามารถดำเนินการพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง
  • ในระหว่างการดำเนินโครงการ โครงการฯ มีแผนในการออกรุ่นปรับปรุงของซอฟต์แวร์ เพื่อให้สถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการสามารถอัพเกรดซอฟต์แวร์ของอุปกรณ์ได้แบบออนไลน์ (Over the Air Firmware Update) อย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาของโครงการ
  • การติดตามผลการนำเครื่องมือค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณ ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน จะเกิดขึ้นในกระบวนการการอัพเดทซอฟต์แวร์ของอุปกรณ์ โดยระบบจะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานอุปกรณ์ ระยะเวลาการใช้งาน รวมถึงประสิทธิภาพการใช้งานโดยรวมของอุปกรณ์ เพื่อนำมาประเมินผลโครงการ
  • หลังจากสิ้นสุดการดำเนินโครงการ สถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ รวมถึงเครือข่ายนักพัฒนาสามารถร่วมพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับอุปกรณ์ โดยซอฟต์แวร์ที่ได้รับการรับรอง จะสามารถนำมาใช้ในการอัพเกรดการทำงานของอุปกรณ์ได้ อย่างต่อเนื่องหลังจากสิ้นสุดการดำเนินโครงการ