การค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณวิทยุคมนาคม
การค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณ (Radio Direction Finding) เป็นการวัดความเข้มของสัญญาณที่รับได้จากแหล่งกำเนิดสัญญาณโทรคมนาคมหรือเครื่องส่งวิทยุคมนาคม มายังเครื่องรับวิทยุคมนาคม ซึ่งเป็นพื้นฐานของเทคโนโลยีทางวิศวกรรมโทรคมนาคมหลากหลาย เช่น การสื่อสารไร้สาย (Wireless Communications) การทำงานของเรดาร์ เป็นต้น การค้นาแหล่งกำเนิดสัญญาณโทรคมนาคม สามารถใช้ในการเดินเรือ การนำทางอากาศยาน การค้นหาเครื่องส่งสัญญาณฉุกเฉิน (Emergency Transmitters) ในการค้นหาและกู้ภัย รวมถึงการค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณแปลกปลอม หรือสัญญาณรบกวนทางโทรคมนาคม การค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณโทรคมนาคม เป็นวิธีการซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้ทางด้านเทคโนโลยีวิศวกรรมโทรคมนาคม ในหลายแขนง เช่น
- ความรู้เรื่องคลื่น ความถี่ ความยาวคลื่น สเปรคตรัมของคลื่น ช่วงสเปรคตรัมของคลื่นที่ถูกกำหนดให้ใช้ในระดับนานาชาติ ช่วงสเปรคตรัมของคลื่นที่ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ช่วงสเปรคตรัมของคลื่นที่สอดคล้องตามกฏหมายของประเทศไทย สอดคล้องกับ ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 , หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545 ( ปรับปรุง พ.ศ.2546) และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2546, พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 และกฏหมายที่เกี่ยวข้อง
- ความรู้เรื่องเครื่องส่งวิทยุคมนาคม เครื่องรับวิทยุคมนาคม การส่งข้อมูลไร้สาย รูปแบบและเทคโนโลยีการส่งข้อมูลไร้สาย เทคโนโลยีการส่งข้อมูลไร้สายในชีวิตประจำวัน กำลังส่ง กำลังส่งของอุปกรณ์วิทยุคมนาคมที่ถูกต้องตามกฏหมายของประเทศไทย สอดคล้องกับ ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 , หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545 ( ปรับปรุง พ . ศ . 2546) และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2546, พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 และกฏหมายที่เกี่ยวข้อง
- สายนำสัญญาณ การทำงานของสายนำสัญญาณ ประเภทของสายนำสัญญาณ อิมพีแดนซ์ พิกัดกำลัง พิกัดความถี่ รูปแบบการเชื่อมต่อสายนำสัญญาณ สอดคล้องกับ ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 , หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545 ( ปรับปรุง พ . ศ . 2546) และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2546, พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 และกฏหมายที่เกี่ยวข้อง
- สายอากาศ รูปแบบการแพร่กระจายคลื่นของสายอากาศ สนามแม่เหล็กไฟฟ้า ทิศทางการแพร่กระจายคลื่น ประโยชน์ของการใช้สายอากาศในการเพิ่มประสิทธิภาพการติดต่อสื่อสารไร้สาย สายอากาศรูปแบบต่าง ๆ เช่น สายอากาศชนิดรอบตัว สายอากาศชนิดทิศทาง สายอากาศชนิดกึ่งทิศทาง การตั้งสถานีวิทยุคมนาคม ข้อกำหนดการตั้งสถานีวิทยุคมนาคมที่ถูกต้องตามกฏหมายของประเทศไทย สอดคล้องกับ ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 , หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545 ( ปรับปรุง พ . ศ . 2546) และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2546, พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 และกฏหมายที่เกี่ยวข้อง
- การค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณ
ซึ่งจะเห็นได้ว่า การค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณ เป็นกิจกรรมที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ในศาสตร์หลายแขนง ที่เชื่อมโยงกับเทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมโทรคมนาคม อย่างไรก็ตาม การเรียนการสอนโดยการใช้วิธีการค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณโดยทั่วไป ยังเป็นไปได้ยากเนื่องจากอุปกรณ์เครื่องวัดทางโทรคมนาคมมักมีราคาสูง ต้องการการบำรุงรักษาตลอดระยะเวลาการใช้งาน
นอกจากนี้ การค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณวิทยุคมนาคมยังนิยมทำกันในรูปแบบกีฬา โดย กีฬาการค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณวิทยุ เป็น การแข่งขันที่ต้องเดินทาง จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ในเส้นทางที่กำหนด ภายใต้เวลาที่จำกัด เพื่อค้นหาเครื่องส่งวิทยุคมนาคม กีฬาการค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณวิทยุคมนาคมเป็นหนึ่งในกิจกรรมของนักวิทยุสมัครเล่นทั่วโลก ที่สร้างความตื่นเต้นและความสนุก นักวิทยุสมัครเล่นส่วนใหญ่ใช้การแข่งขันการค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณวิทยุคมนาคม เพื่อฝึกประสบการณ์ความรู้ต่างๆที่ตนมี เพื่อให้ประสบความสำเร็จและชนะเลิศในการแข่งขัน ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทย กีฬาการค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณวิทยุคมนาคมนิยมจัดการแข่งขันระหว่างกันในกลุ่มนักวิทยุสมัครเล่น ซึ่งจะต้องผ่านการทดสอบ และได้รับอนุญาตจากสำนักงาน กสทช จากกรณีดังกล่าวนี้ โครงการฯ จึงได้เลือกการค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณวิทยุคมนาคม เพื่อใช้ในการส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านวิศวกรรมโทรคมนาคมในโรงเรียน