Difference between revisions of "เครื่องมือค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณ"

From WiFinder | โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านวิศวกรรมคมนาคมในโรงเรียนทั่วประเทศ
Jump to navigation Jump to search
Tag: Blanking
Line 1: Line 1:
เครื่องมือค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณ เป็น เครื่องสำหรับ[[การค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณวิทยุคมนาคม|ค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณวิทยุคมนาคม]]


==แนวคิดหรือต้นแบบ==
โครงการฯ ได้ทำการพัฒนาต้นแบบแนวคิด (Proof of Concept) โดยการพัฒนาชุดเครื่องมือค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณ  ประกอบด้วย ส่วนประกอบหลัก ดังต่อไปนี้
#บอร์ดสมองกลฝังตัว ประกอบด้วย หน่วยประมวลผลหลักคือไมโครคอนโทรลเลอร์ รุ่น ESP32 ของบริษัท Espressif โดยมีการผลิตและประกอบขึ้นในประเทศไทย มีความสามารถในการประมวลผล และรับสัญญาณไร้สายในรูปแบบของ สัญญาณ Wi-Fi และ Bluetooth Low Energy พร้อมกับการวิเคราะห์ความเข้มของสัญญาณที่รับได้ (Received Signal Strength Indicator)
#สายอากาศชนิดทิศทาง สายอากาศชนิดรอบตัว เพื่อสร้างความเข้าใจในคุณสมบัติของสายอากาศชนิดต่าง ๆ และ ใช้ในการค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณ
#สายนำสัญญาณ พร้อมชุดขั้วต่อสายนำสัญญาณ เพื่อใช้ในการค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณ
#หน้าจอแสดงผลข้อมูลความเข้มของสัญญาณที่รับได้ แสดงความเข้มของสัญญาณที่รับได้ เพื่อใช้ในการอ่านค่าสัญญาณ และค้นหาแห่งกำเนิดสัญญาณ
#กล่องอุปกรณ์ในรูปแบบมือถือ (Handheld) พร้อมแบตเตอรี่
เครื่องมือค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณ  ที่จะถูกพัฒนาขึ้นโดย ครู อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา และ นักเรียน มีรายละเอียดด้านเทคนิค ดังต่อไปนี้
*ใช้ค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณ ประเภท WiFi Accesspoint บนความถี่ 2.4 กิกะเฮิร์ทซ์
*มีจอแสดงผล แสดงความเข้มของสัญญาณจากแหล่งกำเนิดสัญญาณ
*มีสายอากาศชนิดทิศทาง และ สายอากาศชนิดรอบตัว อย่างละ 1 ชุด
*มีแบตเตอรี่ชนิดประจุซ้ำได้ พร้อมวงจรประจุแบตเตอรี่ โดยทำงานต่อเนื่องกันได้ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง
ทั้งนี้ ชุดเครื่องมือค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณ  ในโครงการ จัดเป็นเครื่องมือวัดทางอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม ซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องได้รับใบอนุญาตทํา มี ใช้ นําเข้า นําออก ค้าซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม และตั้งสถานีวิทยุคมนาคม เว้นแต่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ จะประกาศกําหนดเพิ่มเติมเป็นอย่างอื่น ตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง เครื่องวิทยุคมนาคมและสถานีวิทยุคมนาคมที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องได้รับใบอนุญาต ตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘

Revision as of 09:54, 30 March 2022

เครื่องมือค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณ เป็น เครื่องสำหรับค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณวิทยุคมนาคม

แนวคิดหรือต้นแบบ

โครงการฯ ได้ทำการพัฒนาต้นแบบแนวคิด (Proof of Concept) โดยการพัฒนาชุดเครื่องมือค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณ ประกอบด้วย ส่วนประกอบหลัก ดังต่อไปนี้

  1. บอร์ดสมองกลฝังตัว ประกอบด้วย หน่วยประมวลผลหลักคือไมโครคอนโทรลเลอร์ รุ่น ESP32 ของบริษัท Espressif โดยมีการผลิตและประกอบขึ้นในประเทศไทย มีความสามารถในการประมวลผล และรับสัญญาณไร้สายในรูปแบบของ สัญญาณ Wi-Fi และ Bluetooth Low Energy พร้อมกับการวิเคราะห์ความเข้มของสัญญาณที่รับได้ (Received Signal Strength Indicator)
  2. สายอากาศชนิดทิศทาง สายอากาศชนิดรอบตัว เพื่อสร้างความเข้าใจในคุณสมบัติของสายอากาศชนิดต่าง ๆ และ ใช้ในการค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณ
  3. สายนำสัญญาณ พร้อมชุดขั้วต่อสายนำสัญญาณ เพื่อใช้ในการค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณ
  4. หน้าจอแสดงผลข้อมูลความเข้มของสัญญาณที่รับได้ แสดงความเข้มของสัญญาณที่รับได้ เพื่อใช้ในการอ่านค่าสัญญาณ และค้นหาแห่งกำเนิดสัญญาณ
  5. กล่องอุปกรณ์ในรูปแบบมือถือ (Handheld) พร้อมแบตเตอรี่

เครื่องมือค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณ ที่จะถูกพัฒนาขึ้นโดย ครู อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา และ นักเรียน มีรายละเอียดด้านเทคนิค ดังต่อไปนี้

  • ใช้ค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณ ประเภท WiFi Accesspoint บนความถี่ 2.4 กิกะเฮิร์ทซ์
  • มีจอแสดงผล แสดงความเข้มของสัญญาณจากแหล่งกำเนิดสัญญาณ
  • มีสายอากาศชนิดทิศทาง และ สายอากาศชนิดรอบตัว อย่างละ 1 ชุด
  • มีแบตเตอรี่ชนิดประจุซ้ำได้ พร้อมวงจรประจุแบตเตอรี่ โดยทำงานต่อเนื่องกันได้ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง

ทั้งนี้ ชุดเครื่องมือค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณ ในโครงการ จัดเป็นเครื่องมือวัดทางอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม ซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องได้รับใบอนุญาตทํา มี ใช้ นําเข้า นําออก ค้าซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม และตั้งสถานีวิทยุคมนาคม เว้นแต่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ จะประกาศกําหนดเพิ่มเติมเป็นอย่างอื่น ตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง เครื่องวิทยุคมนาคมและสถานีวิทยุคมนาคมที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องได้รับใบอนุญาต ตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘