Difference between revisions of "เครื่องมือค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณ"

From WiFinder | โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านวิศวกรรมคมนาคมในโรงเรียนทั่วประเทศ
Jump to navigation Jump to search
 
Line 30: Line 30:


[[File:WiFinder_comp3.jpeg|200px|จากซ้ายไปขวา สายอากาศ Logperiodic และ WiFinder ที่ประกอบเหล็กฉาก และมือจับเรียบร้อยแล้ว]]
[[File:WiFinder_comp3.jpeg|200px|จากซ้ายไปขวา สายอากาศ Logperiodic และ WiFinder ที่ประกอบเหล็กฉาก และมือจับเรียบร้อยแล้ว]]
4. เสร็จสิ้น และ สามารถนำไปใช้งานได้

Latest revision as of 08:08, 27 March 2023

เครื่องมือค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณ เป็น เครื่องสำหรับค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณวิทยุคมนาคม

แนวคิดหรือต้นแบบ[edit]

โครงการฯ ได้ทำการพัฒนาต้นแบบแนวคิด (Proof of Concept) โดยการพัฒนาชุดเครื่องมือค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณ ประกอบด้วย ส่วนประกอบหลัก ดังต่อไปนี้

  1. บอร์ดสมองกลฝังตัว ประกอบด้วย หน่วยประมวลผลหลักคือไมโครคอนโทรลเลอร์ รุ่น ESP32 ของบริษัท Espressif โดยมีการผลิตและประกอบขึ้นในประเทศไทย มีความสามารถในการประมวลผล และรับสัญญาณไร้สายในรูปแบบของ สัญญาณ Wi-Fi และ Bluetooth Low Energy พร้อมกับการวิเคราะห์ความเข้มของสัญญาณที่รับได้ (Received Signal Strength Indicator)
  2. สายอากาศชนิดทิศทาง สายอากาศชนิดรอบตัว เพื่อสร้างความเข้าใจในคุณสมบัติของสายอากาศชนิดต่าง ๆ และ ใช้ในการค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณ
  3. สายนำสัญญาณ พร้อมชุดขั้วต่อสายนำสัญญาณ เพื่อใช้ในการค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณ
  4. หน้าจอแสดงผลข้อมูลความเข้มของสัญญาณที่รับได้ แสดงความเข้มของสัญญาณที่รับได้ เพื่อใช้ในการอ่านค่าสัญญาณ และค้นหาแห่งกำเนิดสัญญาณ
  5. กล่องอุปกรณ์ในรูปแบบมือถือ (Handheld) พร้อมแบตเตอรี่

เครื่องมือค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณ ที่จะถูกพัฒนาขึ้นโดย ครู อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา และ นักเรียน มีรายละเอียดด้านเทคนิค ดังต่อไปนี้

  • ใช้ค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณ ประเภท WiFi Accesspoint บนความถี่ 2.4 กิกะเฮิร์ทซ์
  • มีจอแสดงผล แสดงความเข้มของสัญญาณจากแหล่งกำเนิดสัญญาณ
  • มีสายอากาศชนิดทิศทาง และ สายอากาศชนิดรอบตัว อย่างละ 1 ชุด
  • มีแบตเตอรี่ชนิดประจุซ้ำได้ พร้อมวงจรประจุแบตเตอรี่ โดยทำงานต่อเนื่องกันได้ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง

ทั้งนี้ ชุดเครื่องมือค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณ ในโครงการ จัดเป็นเครื่องมือวัดทางอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม ซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องได้รับใบอนุญาตทํา มี ใช้ นําเข้า นําออก ค้าซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม และตั้งสถานีวิทยุคมนาคม เว้นแต่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ จะประกาศกําหนดเพิ่มเติมเป็นอย่างอื่น ตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง เครื่องวิทยุคมนาคมและสถานีวิทยุคมนาคมที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องได้รับใบอนุญาต ตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘

การประกอบ WiFinder[edit]

1.ประกอบเหล็กฉาก และ มือจับ เข้าด้วยกัน ด้วยสกรูโลหะที่มีมาให้ในชุด

จากซ้ายไปขวา สายอากาศ Logperiodic, สกรูโลหะสำหรับยึดสายอากาศ และ WiFinder ที่ประกอบเหล็กฉาก และมือจับเรียบร้อยแล้ว

2.ประกอบ WiFinder เข้ากับ มือจับ ด้วยสกรูโลหะที่มีมาให้ในชุด

จากซ้ายไปขวา สายอากาศ Logperiodic และ WiFinder ที่ประกอบเหล็กฉาก และมือจับเรียบร้อยแล้ว

3.ประกอบ WiFinder เข้ากับ สายอากาศ ด้วยสกรูโลหะที่มีมาให้ในชุด

จากซ้ายไปขวา สายอากาศ Logperiodic และ WiFinder ที่ประกอบเหล็กฉาก และมือจับเรียบร้อยแล้ว

4. เสร็จสิ้น และ สามารถนำไปใช้งานได้